ถ้าใครไม่รู้จัก Parkour ก็ขอให้นึกถึงเกม Assasin’s Creed หรือว่าฉากไล่ลาจากหนังเรื่องเจมส์บอนด์ การได้ดูพวกนักกีฬา Parkour นี้วิ่ง, กระโดด หรือปีนไปตามที่ต่างๆนั้น อาจจะทำให้เราคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องอะไรที่คนปกติจะทำกันได้ แต่ว่าในทางตรงกันข้าม
“มันก็เป็นเรื่องที่ใครก็ออกมาทำได้”
Max Cave; หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Parkour ระดับมืออาชีพจากอังกฤษ และเจ้าของแบรนด์ Storror ได้กล่าวไว้ เขายังพูดอีกว่า “คุณไม่จำเป็นต้องมีอะไรเลย มันคือโอกาสที่จะปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ และท้าทายตัวเอง” Max เล่าว่ามันเริ่มต้นตอนที่เขาอายุ 12 ซึ่งเป็นช่วงอายุที่กำลังซ่า เขาและ Benj น้องชายของเขา ได้ดูสารคดี Jump Britain ในปี 2005 ซึ่งเป็นสารคดีเกี่ยวกับเหล่า Free Runner ชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส ที่ไปเฉิดฉายอยู่ตาม Landmark ต่างๆในอังกฤษ ซึ่งหนึ่งในสมาชิกจากสารคดีนั้น ก็ได้มีโอกาสไปเล่นหนังเรื่อง Casino Royale ในฉากที่ไล่ล่ากับ Daniel Craig บนเครน (2006) และนั่นแหละก็เป็นจุดเปลี่ยนของวงการ Parkour เลยทีเดียว
และนั่นแหละก็เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแก๊ง Storror ขึ้น โดยพวกเขาเติบโตจากการทำแชนแนล YouTube ในชื่อ StorrorBlog (Storror คือชื่อกลางของสองพี่น้อง Max และ Benj) ถึงแม้ว่าพวกเขาจะโดดเด่นในเรื่องของ Parkour แต่จริงๆแล้ววิดีโอส่วนใหญ่ก็เป็นคลิปที่พวกเขา “ออกไปเกรียน” ซะมากกว่า โดย Drew หนึ่งในชาวแก๊ง ได้พูดถึงวิดีโอของพวกเขาว่า “เมื่อก่อนวิดีโอ Parkour ส่วนใหญ่จะเป็นพวกคลิปสอน หรือคลิปอวดสเต็ป แต่ว่าวิดีโอของพวกเรา Storror นั้นทำขึ้นมาเมื่อโชว์ความเป็นเรา ความสนุกในแบบของเรา”, “เพราะงั้นแหละมั้งคนเลยชอบ”
และจุดเปลี่ยนที่ทำให้ Storror เป็นมากกว่าแก๊ง Parkour และเข้าสู่วงการแฟชั่น ก็คือตอนที่พวกเขาเรียนจบ พวกเขารู้ดีว่าเขาไม่ถนัดพวกงานนั่งโต๊ะหรอก แต่ว่า ณ ตอนนั้น Parkour ก็ไม่ใช่อะไรที่จะมาทำเป็นอาชีพได้ Drew บอกเราว่า
“เรามองไปที่พวกวงการสเก็ตบอร์ด, เซิร์ฟ ว่าพวกเขานั้นปั้นกีฬาพวกนั้นให้เป็นธุรกิจได้ยังไง ซึ่งความต่างก็คือในวงการสเก็ต, คุณต้องซื้อสเก็ต แต่สำหรับ Parkour คุณต้องการแค่รองเท้าคู่เดียวก็พอ เรามองเห็นจุดนั้นและทำให้มันกลายเป็นเป้าหมายของเรา ถ้าเราสามารถทำรองเท้าสำหรับ Parkour โดยเฉพาะ ที่เจ๋งกว่า Nike หรือ adidas ได้ เราก็จะสามารถสร้างจุดยืนของตัวเองได้”
ทุกอย่างมันเริ่มต้นจากการที่เขาเริ่มปริ้นท์เสื้อยืดขาย ด้วยเงินทุน 350 ปอนด์ที่พ่อแม่ของ Max และ Benj ให้ยืมมา และถึงแม้ Drew จะพูดว่าเสื้อยืดรุ่นแรกของเขานั้น “เห่ยเกินจะพูดถึงตอนนี้ แต่ว่ามันก็ขายได้ และทุกอย่างเติบโตจากตรงนั้น” ลักษณะที่สำคัญในการทำเสื้อผ้าสำหรับ Parkour นั้นก็คือความทนทาน Benj บอกว่า “โดยทั่วไปเสื้อผ้าพวกนี้มันจะโคร่งๆนะ แต่ว่ามันก็ไม่ได้มีแค่แบบเดียว บางทีเสื้อผ้าที่รุ่ยร่ายเกินไปก็อาจจะไปเกี่ยวขอบอะไรเข้า หรือว่าอาจจะโดนตำรวจดึงไว้ได้”
คอลเล็กชั่นแรกของ Storror ประกอบไปด้วยเสื้อผ้าหลายชนิดเช่น เสื้อยืด Oversized, Sweatshirt และแจ็คเก็ต Coach ซึ่งได้สร้างกลิ่นอายความเป็น Sportwear และ Streetwear ผ่านทางวัฒนธรรมการปีนป่ายของพวกเขา (เช็คผลงานของพวกเขาได้ ที่นี่) และเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ฝันที่พวกเขาฝันไว้ก็เป็นจริง รองเท้าคู่แรกของแบรนด์ Storror ก็ได้ออกมาในชื่อ Storror “TENS” โดยหลังจากผ่านระยะเวลาการรวบรวมทุน, ดีไซน์และปัจจัยทั้งหลายทั้งมวล ทำให้พวกเขารู้ว่าส่วนที่ยากที่สุดของการทำรองเท้าก็คือ “ดีไซน์” การทำรองเท้ามันเป็นอะไรที่เป็น 3D มันไม่เหมือนกับทำเสื้อยืดที่เป็น 2D แล้ว พวกเขาโชคดีได้ไปเจอ และประสบความสำเร็จในการดีลกับ Agency ในนิวยอร์คที่ออกแบบให้ Supreme, New Balance และ Reebok
“มันไม่ได้การทำรองเท้าธรรมดา มันต้องมีความเฉพาะเจาะจงสำหรับ Parkour โดยเฉพาะ เช่น จุดที่เป็นยางตรงนิ้วเท้านั้นมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มีอะไรมาขีดข่วนผ้าตาข่ายให้ขาด หรือว่า Sole ชิ้นเดียว ที่ช่วยให้มันไม่แยกออกจากกันเมื่อคุณสไลด์ลงกำแพง”
Benj พูดถึง Storror “TENS” รองเท้าคู่แรกของแบรนด์
Storror TENS เปิดตัวในราคา 75 ปอนด์ หรือประมาณสามพันกว่าบาทเท่านั้นเอง (ช็อปได้) ซึ่งถือว่าไม่แพง แถมเท่ด้วย และเจ้ารองเท้าคู่นี้ก็ได้กลายเป็นกระแสในวงการสตรีทแวร์ แล้วก็ไปถูกใจพวกแฟนๆสตรีทที่ไม่ได้เล่น Parkour ด้วย Drew พูดว่า ” มันยากหน่อยที่แบรนด์เราเข้าไปสู่กระแสหลัก แบรนด์เรามันเป็นอะไรที่เฉพาะกลุ่ม แต่ผมก็หวังว่ามันจะเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ได้มากขึ้น”
Storror ได้เดินทางมาไกลมากจากจุดแรกที่พวกเขาเริ่ม ด้วยแบรนด์สินค้า และวิดีโอที่พวกเขาทำ อีกจุดเปลี่ยนหนึ่งที่ทำให้ Storror กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นก็คือรายการ Roof Culture Asia สารคดีที่พวกแก๊ง Storror ไปวิ่งอยู่บนตึกสูงๆ และไปวิ่งหนีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในเมืองใหญ่ๆเช่น ฮ่องกง, โตเกียว หรือโซล Toby บอกว่า “ผู้คนได้เห็น Parkour โลดแล่นอยู่บนหลังคาในอังกฤษ แต่ว่าไม่เคยมีใครเห็นอะไรแบบนี้บนท้องฟ้าของเมืองฝั่งเอเชียเลย”
Roof Culture Asia นั้นเป็นเหมือนเกม Megaman ที่ตกแล้วตกเลย ไม่มีกดรีสตาร์ท แต่ถึงยังงั้นทีม Storror ก็มุ่งมั่นที่จะทำมัน และสุดท้าย ผลลัพธ์จากการเสี่ยงของพวกเขาก็ทำให้เกิดคำนิยามคำว่า “Roof Culture” ขึ้นมา รายได้ที่มาจากชื่อ Storror นั้นครึ่งหนึ่งมาจากการทำเสื้อผ้า และอีกครึงหนึ่งจากการทำวิดีโอ เช่นการทำแคมเปญให้กับ Reebok หรือว่า ASICS และมันก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น แบรนด์หลายๆแบรนด์อย่าง Hyundai, Pepsi, Nerf หรือว่า Doritos ก็มาติดต่อขอให้ทำคอนเท้นท์ให้ด้วย นอกจากจะรันวงการแล้ว พวกเขาก็ประสบความสำเร็จในการทำให้สิ่งที่ชอบ กลายเป็นอะไรที่สร้างรายได้ด้วย!
“Parkour กับ Skateboard นั้นมันเป็นเหมือนเส้นขนานกัน เดิมที Skateboard ก็เริ่มต้นจากค่านิยมข้างถนน กลายเป็นแฟชั่นอยู่บนรันเวย์ Free Running อาจจะยังไปไม่ถึงจุดนั้น แต่นั่นแหละคือภารกิจของเรา เราอยากจะโชว์ให้โลกเห็นว่า Parkour ไม่ใช่กีฬาประหลาด และเข้าถึงยาก เราอยากจะแสดงให้เห็นถึงด้านที่เจ๋งๆ ที่มาจากถนน ว่ามันเป็นยังไง”
Credit: Highsnobiety