เพื่อนๆ คนไหนที่ติดตามรายการเเข่งขันรถสูตร 1 หรือ Formula 1 เชื่อว่าหลายๆ คนคงคุ้นเคยกับเจ้าโครงเหล็กสามเหลี่ยมที่มีชื่อว่า Halo อย่างเเน่นอน ซึ่งมันจะติดตั้งอยู่บริเวณเหนือคนขับ Halo มันคือเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่คอยดูเเลความปลอดภัยของนักขับ เเละยังสร้างความกวนใจให้กับนักขับในช่วงเเรกๆ ที่มีการเริ่มใช้กันอีกด้วย วันนี้เราจะมาดูกันว่าเจ้า Halo มีที่มาอย่างไร?
เมื่อพูดถึง Formula 1 นอกเหนือจากเรื่องของความเร็วเเละการเเข่งขันกันอย่างดุเดือด นั่นก็คือ ความอันตราย โดย Formula 1 ขึ้นชื่อเรื่องของความอันตรายเเละอุบัติเหตุอยู่เเล้ว ทั้งการชนกันเองของรถ รถเสียหลักพลิกคว่ำ หรือชนเข้ากับที่กั้นของสนาม จนนำมาสู่การบาดเจ็บเเละสูญเสีย ถึงเเม้ว่าจะเกิดการบาดเจ็บสาหัสเเละเกิดการสูญเสียอยู่บ่อยครั้ง
เเต่ทางสหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ หรือ ‘FIA’ (International Automobile Federation) ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเเต่อย่างใด ต้องหาอุปกรณ์หรือคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถป้องกันอันตรายต่อนักขับที่นอก เหนือจากชุดเเข่งกันไฟ, หมวกกันน็อค เเละเข็มขัดนิรภัย
จนกระทั่งในปี 2016 ได้กำเนิดอุปกรณ์ชิ้นสำคัญอย่าง Aeroscreen เป็นนวัตกรรมที่ทาง FIA ได้พัฒ นาร่วมกับทีม Red Bull ซึ่งเจ้า Aeroscreen เป็นชิลด์โปร่งใสขนาด ใหญ่ที่ยึดรอบโครงด้วยวัสดุไทเทเนียมเเละติดตั้งอยู่บริเวณหน้าคนขับ
.
หลังจากนั้นได้มีการนำเอาเจ้า Aeroscreen มาทดลองใช้ ครั้งเเรกในรายการ Russian Grand Prix 2016 ไปจนถึง British Grand Prix 2017 เเต่ผลตอบรับกลับไม่สู้ดีนัก เพราะมันไปบดบังทัศนวิสัยการขับขี่มากกว่าที่จะช่วยป้องกันชีวิต
ทาง FIA ก็ยังเดินหน้าพัฒนาเเละหาหนทางต่อไปในการที่ช่วยป้องกันชีวิตของนักขับให้มากขึ้น จน ทางทีม Mercedes-AMG ได้นำเสนออุปกรณ์โครงสามเหลี่ยมที่มีชื่อว่า Halo ที่ผลิตจากวัสดุไททาเนียมและแชสซีสคาร์บอนไฟเบอร์ รวมน้ำหนักทั้งหมด 9 กิโลกรัม .
จากผลการทดลอง พบว่าเจ้า Halo สามารถมีโครงสร้างที่เเข็งเเรงเเละรับน้ำหนักสิ่งของที่มีน้ำหนักมากถึง 12 ตัน เเละยังบดบังการการมองเห็นเพียงนิดเดียวหากเทียบกับเจ้า Aeroscreen
เเละในปี 2018 ทาง FIA ได้ออกข้อตกลงเเละข้อบังคับว่าการเเข่งขัน Formula รถของทุกทีมจะต้อง ติดตั้งอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Halo เพื่อความปลอดภัยของนักขับ เเต่ก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักขับ หลายทีมในเรื่องของดีไซน์ที่ยังบดบังการมองเห็น หรือดีไซน์ที่ค่อนข้างห่วยซึ่งเป็นคำจากปากของ Lewis Hamilton ที่มองว่า Halo มันทำภาพลักษณ์ของตัวรถเเข่งดูเเย่เอามากๆ
เเต่อย่างไรก็ตาม Halo ก็ได้พิสูจน์ตัวเองเเล้วว่ามันสามารถช่วยชีวิตนักขับได้จริงๆ ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2018 ที่รถของ Fernando Alonso เฉี่ยวข้ามหัวของ Charles Leclerc หรือในปี 2021 ที่รถของ Max Verstappen เสียหลักขี่คร่อมบนรถของ Lewis Hamilton
.
เเต่เจ้าเหล็ก Halo ยังสามารถช่วย ไม่ให้รถของ Max มาทับลงบนหัวของ Lewis ได้ หรือว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ Romain Grosjean นักขับจากทีม Hass ที่รถเสียหลักไปชนเข้ากับที่กั้นของสนามจนรถขาดเป็น 2 ท่อน เเละเกิดไฟลุกไหม้ ซึ่งเจ้าตัวติดอยู่ในรถนานอยู่หลายนาที เเต่ก็สามารถออกจากตัวรถมาได้อย่างปลอดภัย
บอกเลยว่าไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเจ้าโครงเหล็กสามเหลี่ยมที่มีชื่อว่า Halo จะสามารถช่วยป้องกันอันตรายต่างๆ ได้มากขนาดนี้ ในปัจจุบันยังมีการใช้ Halo มาอย่างต่อเนื่องในการเเข่งขัน Formula 1 สำหรับเพื่อนๆ คอกีฬา F1 คิดเห็นอย่างไรบ้างก็เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ คอมเมนต์มาบอกกันหน่อย!
