Raf Simons กับความหมกมุ่นในดนตรี และคำเสียดสีที่ถูกกล่าวหาว่า “ไม่ใช่ต้นตำรับ” จากปากของ Virgil Abloh

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Raf Simons คือหนึ่งในบุคคลที่มีความสำคัญบนโลกแฟชั่นในปัจจุบัน หลายๆ ท่านที่ติดตามข่าวคราวแฟชั่นในปัจจุบัน น่าจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเสื้อผ้าของเขา ผ่านสื่อต่าง ๆ มากมายบนโลกโซเชียลในปัจจุบัน ไม่ว่าจะจากกรณีพิพาทแบบสงครามเย็น จากปากของ Virgil Abloh ที่พูดเอาไว้ว่า งานของเขา "ไม่ใช่ต้นตำรับ" จนทำให้ A$AP Rocky ต้องมาแร็ปเพื่อปกป้องคุณพ่อ Raf Simons ไปหนึ่งบทเพลง

แน่นอนว่าเรื่องราวและคำวิจารณ์ เป็นสีสันอย่างหนึ่งบนโลกแฟชั่น และจากคำพูดของ Virgil Abloh ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ จนทำให้ในวันนี้ ทางเราขอนำพาทุกท่านไปร่วมขุดคุ้ยลิ้นชักความคิดและความหลงใหลในศิลปะแขนงต่าง ๆ ของเขา ที่หลอมรวมและฟูมฟักถักทอออกมา กลายเป็นเสื้อผ้าของเขาที่เฉิดฉายอยู่บนรันเวย์และร่างกายของเหล่าเซเลปบริตี้ทั่วโลก …
 

 

Raf Simons เป็นชาวเบลเยี่ยมโดยกำเนิด (นั่นจึงทำให้ตัวเขาสามารถพูดฝรั่งเศสได้) เดิมทีเขาไม่ได้เลือกเรียนมาทางแฟชั่นเลยแม้แต่น้อย เขาศึกษาในสาขาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และในระหว่างที่เรียนก็เริ่มทำงานด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เขาร่ำเรียนมา ซึ่งในขณะนั้นก็มีผลงานให้กับแกลเลอรี่ชื่อดังต่างๆ มากมาย …

แต่จุดพลิกผันที่สุดก็คือการเริ่มต้นฝึกงานกับ Studio of Walter Van Beirendonck (สตูดิโอออกแบบเสื้อผ้า Fashion) ซึ่งทำให้ Raf Simons ได้มีโอกาสเดินทางไป Paris Fashion Week และสิ่งที่สามารถกระตุ้นต่อมแฟชั่นดีไซน์เนอร์ที่หลับใหลของเขาขึ้นมา ก็คือรันเวย์ของแบรนด์ Martin Margiela (ในปี 1991) ทำให้ Raf Simons ตัดสินใจเข้าสู่วงการออกแบบเสื้อผ้าในที่สุด !

หลังจากที่ได้ก่อตั้งแบรนด์ Raf Simons แน่นอนว่าเขาเป็นอีกคนหนึ่งที่หลงใหลในดนตรี เห็นได้ชัดจากคอลเล็คชั่นที่โด่งดังของปี 2003 ที่เขาหยิบยกนำเอาอาร์ทเวิร์คที่ออกแบบโดย Peter Saville ของวงลมบ้าหมู Joy Division มาใส่ไว้บนเสื้อผ้า ไม่ว่าจะเป็นอัลบั้ม Still , Unknown Pleasures หรือ New Order ก็ล้วนแล้วแต่ถูกหยิบยกนำมาใส่ไว้ในเสื้อผ้าคอลเล้คชั่น Autumn/Winter 2003 นี้ได้อย่างงดงาม ( และล่าสุดมีการรีเซลเกิดขึ้นถึง 7,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ !)

ซึ่งแนวทางงานแบบนี้ เกิดขึ้นบ่อยมากในช่วงยุคแรกเริ่มของแบรนด์ Raf Simons ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยอะไรให้มากมายว่า เขารักและหลงใหลในศิลปะแขนงนี้ขนาดไหน เพราะคอลเล็คชั่นปี 2001 ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่โดดเด่นของเขา ในแนวทางงานทริบิวท์ศิลปิน เห็นได้จากการที่เขาหยิบยกนำเอาสองไอดอลแห่งเกาะอังกฤษอย่าง David Bowie และ Richey Edwards (แห่งวง The Manic Street Preachers) มาใส่ไว้บนเสื้อผ้าสไตล์ Patch Work ของเขา

และรันเวย์ปี 1998 ที่สร้างความฮือฮาในความหลงใหล วงดนตรีสไตล์ electronic ยุคต้นตำรับจากประเทศเยอรมัน วง Kraftwerk ซึ่งรันเวย์ชุดนั้นแถบจะถอดแบบสไตล์การแต่งตัวของวง Kraftwerk ออกมาแบบเป๊ะ ๆ  โดยที่ชื่อคอลเล็คชั่นนั้นก็เป็นการทริบิวท์ตัววงอย่างชัดเจน โดยใช้ชื่อว่า “Radioactivity” ซึ่งเป็นชื่อของซิงเกิ้ลหนึ่งของพวกเขา

นอกจากนั้น ความหลงใหลในวัฒนธรรม Youth Culture ของเขา ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจหลัก ๆ ที่ก่อให้เกิดเสื้อผ้าเหล่านี้ขึ้น ในช่วง late ’80s วัฒนธรรมย่อย New Beat. New Beat (ซึ่งถูกเรียกในภายหลังว่า Acid House) ได้ถือกำเนิดขึ้น และส่งผลไปถึงวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างต่อเนื่องมาหลังจากนั้น ซึ่งต้นกำเนิดของมันก็เกิดขึ้นที่เบลเยี่ยม ประเทศบ้านเกิดของเขานั่นเอง

จากภาพที่เห็นอยู่ข้างบนนี้ ก็แสดงให้เห็นถึงความชัดเจนที่เขาหลงใหลในแนวดนตรี Acid House อย่างถลำลึก ซึ่งภาพถ่ายนี้ ก็เป็นภาพถ่ายโดยฝีมือของ Ronald Stoops ช่างภาพแฟชั่นที่โด่งดังของเบลเยี่ยมในยุคปี 90s ซึ่งเขาเป็นคนที่ถ่ายภาพให้กับ Raf Simons ในช่วงยุคแรกแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นงานเดินแฟชั่นโชว์ หรือจะเป็น Fashion Editorial เซ็ทแรก ๆ ของเขา

ซึ่งเสื้อผ้าที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีแนว Acid House ส่วนนี้เต็ม ๆ คือเสื้อผ้าในคอลเล็คชั่นปี Autumn/Winter 2004 ซึ่งนำมาจากบทเพลงของ CJ Bolland (เขาใช้ชื่อแฝงว่า Amnesia) ที่มีชื่อว่า Rave Signal ซึ่งแนวทางดนตรีที่เชิญชวนให้คนออกมาเต้นกันอย่างลืมวันลืมคืนแบบนี้ ก็มีกลิ่นอายในเรื่องของการใช้สารเสพย์ติดจำพวก Party Drugs อยุ่ไม่น้อย !

แต่นอกจากเรื่องของแนวดนตรีอย่างที่ว่านี้ Raf Simons ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับวง The Chemical Brothers อย่างลึกซึ้งเช่นเดียวกัน เมื่อเรานำภาพสองภาพนี้มาเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นภาพของมิวสิควีดีโอเพลง “Hey Boy Hey Girl” และภาพของรันเวย์ Raf Simons Spring/Summer 2000 ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงการหยิบยืมฟอร์มกันมาอย่างเป๊ะ ๆ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนอกจากในเรื่องของสไตล์การแต่งตัวแล้วนั้น ในปี 1997 พวกเขาก็เคยหยิบยกนำเอาบทเพลงของ The Chemical Brothers มาใช้บนรันเวย์อีกด้วย

สำหรับยุคสมัยใหม่ขึ้นมาหน่อย ก็เห็นทีจะหนีไม่พ้นเรื่องราวของ A$AP Rocky ที่ออกตัวปกป้อง Raf Simons อย่างสุดตัว หลังจากที่เขาโดนคำวิจารณ์ของ Virgil Abloh ปรามาสไปเมื่อช่วงต้นปี จนทำให้เป็นที่มาของซิงเกิ้ล "RAF" ที่เขาร่วมฟีเจอร์ริ่งกับ Frank Ocean , Playboi Carti และ Lil Uzivert ซึ่งก่อนหน้านั้นในช่วงต้นปี ก็มีวีดีโอที่ดูเหมือนจะเป็นคลิปไวรอลเกี่ยวกับ Raf Simons ซึ่งเป็นคลิปที่มีผู้หญิงเสียสติมาขอกอด A$AP Rocky โดยที่ไม่รู้ว่า A$AP Rocky นั้นเป็นใคร ซึ่งเขาก็โต้ตอบกลับไปด้วยวลีเด็ดที่ว่า "Please , Don't touch my Raf"

แน่นอนว่าหลังจากที่ได้อ่านบทความนี้กันไป ก็คงจะเชื่อมโยงความเกี่ยวข้องของยุคสมัยที่ Raf Simons ได้โลดแล่นอยู่บนวงการแฟชั่นมาอย่างยาวนานได้ ไม่มากก็น้อย ซึ่งส่วนตัวแล้วคิดว่าเขาเพียงแค่หยิบยกรสนิยมส่วนตัวออกมาถ่ายทอดให้คนอื่นได้รับรู้ได้อย่างเป็นสากล ดังนั้นนี่จึงเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับความเป็นออริจินัลหรือไม่ เพราะอย่างไรก็ตาม ความทรงจำส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่คัดลอกกันออกมาไม่ได้อยู่ดี

Share:
On Key

Related Posts

WATCHA GONNA ดู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save