ปากคำสุดท้ายจากเหล่าสนีกเกอร์เฮดรุ่นใหญ่ ที่ตัดสินใจขาย “รองเท้า” ทั้งหมด และอยากให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้กัน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ข่าวใหญ่ภายในวงการสนีกเกอร์ที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งก็เห็นจะหนีไม่พ้นการประกาศขายเหมายกคอลเล็คชั่น ของเหล่า Youtube Vloggers ชื่อดังอย่าง TheSneakerAddict, Mr. Foamer Simpson และ Hes Kicks ที่พร้อมใจกันออกมาประกาศขายรองเท้าสนีกเกอร์ของตัวเองกันโดยมิได้นัดหมาย

อาจจะไม่ใช่เรื่องราวที่ใหม่ หรือเพิ่งเคยเกิดขึ้นครั้งแรก เพราะว่าเมื่อปี 2008 Ben Baller และ CorgiShoe ก็ได้ตัดสินใจขายรองเท้าในลักษณะเดียวกันนี้ (สองคนนี้แต่ละคนมีรองเท้าในคอลเล็คชั่นมากว่าผู้คนเหล่านี้สามคนรวมรองเท้ากันเสียอีก) แต่ประเด็นที่ต้องการจะพูดถึง เราไม่ได้จะมาพูดถึงความเป็นรุ่นใหญ่ หรือใครมีรองเท้ามากกว่าใครแต่อย่างใด แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ นี่คือสถาณการณ์ที่ชาวสนีกเกอร์ฝรั่งเรียกกันว่า “the end of the ‘sneaker game’ as we know it.”

“ผมรู้สึกอับอายที่ผมมีรองเท้ามากมายขนาดนี้ … บางคนอาจจะถามว่าผมจะอายทำไม ไม่รู้สิ ผมแค่รู้สึกว่ามันเยอะไปสำหรับผมก็แค่นั้นเอง” – TheSneakerAddict

จุดเริ่มต้นของความหลงใหลในรองเท้าสนีกเกอร์ของแต่ละคนนั้นอาจจะแตกต่างกัน และเริ่มต้นไม่พร้อมกัน ไม่แปลกที่เราจะเห็นสนีกเกอร์เฮดมากมายในยุคนี้เริ่มหลงใหลในตัวรองเท้าจากความไฮป์ของ adidas YEEZY หรือบางคนอาจจะเริ่มมาตั้งแต่ยุค Nike SB Dunk เหตุผลและเรื่องราวของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะพูดถึงในบทความนี้คือ "จุดจบ" ของแต่ละคนนั่นเอง

จากคำพูดของ Scott Fredrick นักประวัติศาสตร์รองเท้าสนีกเกอร์ชื่อดัง เกี่ยวกับการขายคอลเล็คชั่นรองเท้าสะสมของเขาเมื่อปี 2008 เขาได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า "ผมเคยย้อนกลับไปคิดถึง ตอนที่ผมตัดสินใจขายมันอยู่เหมือนกันนะ แล้วผมก็ตอบตัวเองได้ว่าผมตัดสินใจถูก เพราะรองเท้าบางคู่ที่ผมเก็บไว้ผมแทบจะไม่ได้เอามาใส่เลยด้วยซ้ำ มีอยู่วันหนึ่ง ผมเข้าไปในห้องเก็บรองเท้าของผมแล้วผมพบว่า รองเท้าที่ผมเก็บไว้มันพังแบบแทบไม่มีชิ้นดี จากการที่ผมวางกล่องซ้อน ๆ กันไว้สูงหลายชั้นเป็นเวลานาน รองเท้าอย่าง Flight 90s, OG Grape Vs, Converse Run N Slams และ adidas "Abdul Jabbar" ที่ผมทำงานอย่างหนักและหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง กลายเป็นซากปรักหักพังของประวัติศาสตร์ ที่มาจากการทำงานหนักของผม … ทำงานหนักจนไม่ได้ใส่ "

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เหมือนเป็นการ "เอาเงินไปทิ้ง" ชัด ๆ เพราะเวลาที่ผ่านไปก็ย่อมทำให้รองเท้านั้นผุพังไปตามกาลเวลา ไม่ว่าท่านจะเก็บรักษามันอย่างดีขนาดไหน เพราะทุกอย่างนั้นล้วนแล้วแต่มี "เวลา" ของมัน

"วัตถุนิยมทำให้จิตใจของคุณต่ำลง … คำพูดผมอาจจะฟังดูธรรมะธัมโมไปหน่อยนะ แต่นี่แหละเรื่องจริง " – Foamer Simpson

และจากปากคำของ Foamer Simpson ที่ให้เหตุผลในคลิปวีดีโอของตัวเขาเองว่าเขาอิ่มกับการสะสมรองเท้า และไม่รู้สึกที่จะอยากได้มันอีกแล้ว ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ จากตัวผมเองที่มีอายุ 23 ปีในตอนที่เขียนบทความนี้ ไม่ได้เข้าใจความรู้สึกเหล่านี้สักเท่าไหร่นัก แต่เมื่อประกอบกับการนั่งคุยกับผู้ใหญ่ในวงการบ้านเราหลายคน ผมก็เคยได้รับฟังคำพูดที่ทำให้รู้สึกได้ว่าพวกเขา "อิ่ม" กับการสะสมรองเท้ามาแล้วอยู่หลายครั้ง

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สถิติชี้ชัดให้เห็นว่า จำนวนรุ่นของรองเท้าแต่ละแบรนด์ได้วางจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาในแต่ละปี (เช่นเดียวกันกับราคา) จากยุคที่ข่าวสารของวงการรองเท้าสนีกเกอร์ อาจจะมีรุ่นใหม่ ๆ ออกมาเดือนละคู่หรือสองคู่ แต่ในปัจจุบันเว็บไซท์อย่าง HYPEBEAST หรือ Sneaker News ต้องอัพเดทข่าวสารเหล่านี้รายวัน เพราะข้อมูลสินค้าที่มีมาไม่ขาดสาย มันถูกแพร่กระจายและมีปริมาณมหาศาลอย่างน่ากลัว ซึ่งมันอาจจะทำให้ท่านมี "พฤติกรรมบริโภคอย่างน่ากลัว" เช่นกัน เพราะผมกำลังรู้สึกประหลาดใจสุด ๆ ที่ในยุคนี้ เช่นร้านขายรองเท้าที่มีบริการผ่อนชำระแบบ 0% สามเดือน ซึ่งมันเป็นกับดักทุนนิยมอย่างน่ากลัว

"พ่อแม่ผมทำงานหนักมาแทบทั้งชีวิต แต่ยังใช้หนี้ไม่หมดเลย … ผมไม่สบายใจหรอก ด้วยจำนวนรองเท้าที่มากขนาดนี้" – Hes Kicks

ผมไม่ได้ต้องการที่จะเขียนบทความนี้ เพื่อวิจารณ์พฤติกรรมการบริโภคแต่อย่างใด เพราะที่สุดแล้วนั้นปัจจัยและต้นทุน รวมไปถึงความพอดีของแต่ละคน ไม่ใช่เรื่องที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในจุดจบของเหล่าสนีกเกอร์เฮดเรื่องนี้ ผมรู้สึกว่าเมนพล็อทของมันก็คือ "จุดอิ่มตัวและความพอดี" มากกว่า เพราะผมรู้สึกว่าความชอบในตัวสนีกเกอร์ของแต่ละคนมันมีไม่เท่ากันอยู่แล้ว ถ้าใครยังมีความสุขกับการสะสมรองเท้าอยู่ ก็อยากให้สะสมต่อไป เพราะนั่นคือความสุขที่แท้จริงของท่าน แต่ถ้าท่านใดรู้สึกเริ่มที่จะใช้จ่ายมากเกินไปกับตรงนี้แล้ว ก็ลองหยุดสะสมสักพัก หาเวลาไปทำอย่างอื่นนอกจากการซื้อรองเท้า  ท่านอาจจะมีความสุขกว่าก็เป็นได้ …

Source : HYPEBEAST

Share:
On Key

Related Posts

WATCHA GONNA ดู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save