รวมเหล่าตัวพ่อผู้ทำให้เกิด Streetwear ในทุกวันนี้

หลายๆแบรนด์ที่กำลังโด่งดังอยู่ในขณะนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์ที่ได้มีการผสมผสานกันระหว่างแฟชั่นชั้นสูง (high-fashion) และแฟชั่นสไตล์สตรีท (streetwear)  สิ่งสำคัญที่มองเห็นได้คือ  ผู้สร้างแบรนด์ที่โด่งดังเหล่านั้นล้วนมีแรงบันดาลใจหรือได้รับอิทธิพลมา จากรูปแบบก่อนๆของวัฒนธรรมสตรีท

หยิบยกตัวอย่างจาก Virgil Abloh ผู้ก่อตั้งแบรนด์ OFF-WHITE  ซึ่งเป็นแบรนด์หรูและเป็นที่ต้องการในขณะนี้   เริ่มแรกเขาได้เริ่มทำเสื้อทีเชิ้ตที่ได้รับการดีไซน์ลายกราฟฟิกให้สวย แปลกตา (graphic tees) ในปี 2012 ภายใต้แบรนด์สตรีท  Pyrex Vision  ในบทสัมภาษณ์ เขาได้กล่าวถึง Supreme และ วงการสเก็ตบอร์ดว่าเป็นแรงบันดาลใจแรกเริ่มของเขา  โดยสเก็ตบอร์ดได้เชื่อมโยงถึง streetwear โดยตรง  Gosha Rubchinskiy ดีไซเนอร์ชาวรัสเซีย  ได้สร้างผลงานชิ้นแรกของเขาในปี 2009  โดยมีแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมรูปแบบของกลุ่มวัยรุ่นที่เล่นสเก็ตบอร์ดในขณะนั้น  มาในวันนี้เราได้เห็นเสื้อผ้าที่ Gosha ได้ดีไซน์ตามเวทีแฟชั่นโชว์ชื่อดังระดับโลกหลายๆเวทีด้วยกัน  และยังมีดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียงท่านอื่นๆเช่น Dao-Yi Chow  และ Maxwell Osborne  สองดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียงว่าเป็นตัวแทนของแฟชั่นสไตล์สตรีทของ New York พวกเขาได้เริ่มต้นจาก high-fashion โดยเริ่มสะสมเสื้อผ้าคอลเลคชั่นของ Polo Ralph Lauren  ในช่วง High School  จากนั้นได้ทำงานให้กับ Tommy Hilfiger และออกแบบให้กับแบรนด์ urban wear  ชื่อว่า Sean John  แบรนด์ดังที่กล่าวมานี้นั้นได้เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ streetwear  ในทุกวันนี้  ทั้งนี้ขอย้ำอีกครั้งตรงนี้ว่kรายชื่อที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ ไม่ได้หมายถึงรายชื่อที่เจ๋งที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่า streetwear นั้นได้เกิดจากการรวมอิทธิพล แรงจูงใจต่างๆทั่วโลกไว้ด้วยกัน

Shawn Stüssy

Streetwear จะเป็นยังไงในตอนนี้ถ้าไม่มี Shawn Stüssy  มันฟังดูเหมือนจะเป็นความคิดที่น่ากลัวสำหรับสาวก streetwear ก็ว่าได้  เนื่องจากแบรนด์ของเขานั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์เริ่มแรกในยุค 80s    ซึ่งทำขึ้นมาสำหรับกลุ่ม Surfing,  Skate และ Punk กลุ่มคนเหล่านี้ ได้นำไปสู่การสร้างรูปแบบของ West Coast scene เจ๋งๆในทุกวันนี้   Stüssy เริ่มจากเปิดบริษัท Surfboard แบบไม่ธรรมดาขึ้นในแคลิฟอร์เนีย  ซึ่งต่อมาได้เริ่มผลิตเสื้อผ้าที่ได้ผสมผสานโลโก้ของเขาไว้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน  รวมไปถึงการมีธีมสีสันสดใส  สำหรับคอลเลคชั่นแรกที่เขาปล่อยออกมาได้รับความนิยมและกลายเป็นที่รู้จัก  อย่างรวดเร็ว  และด้วยชื่อของเขานั้นสามารถทำให้เขาเปิดร้านค้าเป็นของตัวเองไปทั่วประเทศ  จนขยายไปยังทั่วโลกในที่สุด  สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า Stüssy สามารถสร้างแบรนด์ตัวเองได้อย่างรวดเร็ว  นั่นทำให้มีรายได้จากร้านค้าทั่วโลกมากมายถึง $50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว  หาก Streetwear คือ “ศาสนา” ศาสนาหนึ่ง,  ดังนั้น Shawn Stüssy ก็คือ “พระเจ้า” ที่แบรนด์อื่นๆพยายามที่จะนำคำสอนของ Stüssy ที่ว่าด้วยเรื่อง  การสร้างชื่อเสียงโดยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางนั้นสามารถสร้างมันขึ้นมา ได้อย่างไร

NIGO

NIGO  คือบุคคลที่สามารถหลอมรวม streetwear ต่างวัฒนธรรม และต่างทวีปเข้าไว้ด้วยกัน  เขาเริ่มก่อตั้ง Bape เมื่อปี 1993 ในบริเวณรอบๆ Urahara ประเทศญี่ปุ่น  และบริเวณนี้ได้ถือเป็นจุดกำเนิด streetwear ของญี่ปุ่นนั่นเอง  หลังจากนั้น DJ/โปรดิวเซอร์/เจ้าของธุรกิจ สามารถผลักดัน A Bathing Ape เข้าสู่กระแสหลักของ Streetwear โดยใช้เวลาในช่วงหนึ่ง  ในระหว่างปี 2000 ศิลปินชาว Hip-Hop ที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายๆคน  อย่างเช่น Lil Wayne, Pharrell Williams, และ Kanye West  เลือกใส่เครื่องแต่งกายจากแบรนด์ที่ดูหรูหรา มีสีสันด้านแฟชั่นในการแต่งตัว  และไม่นานหลังจากนั้นกลุ่นวัยรุ่นที่รักการแต่งตัวต้องการแต่งกายให้เหมือน กับ Rappers ที่พวกเขาชื่นชอบ  เช่นการสวมใส่เสื้อฮู้ดที่มีสัญลักษณ์รูปฉลาม,  เสื้อยืดลายพรางสีม่วงและ รองเท้าผ้าใบ  Bapesta ที่มีสีสันฉูดฉาด   ถ้าหากจะมองหาหลักฐานของ Bape ที่ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนสามารถมองดูได้จากศิลปิน Rap เกิดขึ้นมาใหม่ๆที่มีชื่อเสียง เช่น  the ASAP Mob, Kid Cudi และ Future พวกเขาสวมใส่เครื่องแต่งกายจากแบรนด์ Bape ที่เห็นใน Collections ในแต่ละฤดูกาล  และหากคุณเข้าไปดูร้านค้าออนไลน์บนเว็บไซต์  คุณก็จะพบว่าสินค้าบนเว็บไซต์ถูกขายหมดตลอดเวลาแม้ว่ามันจะมีราคาสูงแค่ไหน ก็ตาม

Hiroshi Fujiwara

Hiroshi Fujiwara เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนามของ “Godfather of Streetwear”  ผลงานของเขาได้นำไปสู่การเป็นวัฒนธรรมสตรีทแฟชั่นอย่างมากมาย  ถ้ามองในแง่ของ DJ และแฟชั่นกูรู เขาได้เป็นที่ปรึกษาและเผยแพร่การเติบโตของ NIGO จากแบรนด์ A Bathing Ape และ Jun Takahashi  จาก  แบรนด์ Undercover  ชื่อเหล่านี้ได้นำไปอยู่ในบทสนทนา  ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญของแบรนด์ streetwear ต่างๆ และในฐานะที่ Hiroshi Fujiwara  เป็น DJ ที่มีชื่อเสียงและเป็นเจ้าของแบรนด์ Goodenough เขายังสามารถถ่ายทอดถึงมุมมอง  ลักษณะของวัฒนธรรม Hip-Hop เจ๋งๆในยุค 80s ให้กับผู้ฟังชาวญี่ปุ่น  และนั่นคือจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการด้านแฟชั่นของญี่ปุ่นไปสู่แฟชั่นเจ๋งๆในรูปแบบ streetwear  และการเกิดขึ้นของ   แบรนด์ใหม่ต่างๆในประเทศญี่ปุ่น   สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ Fujiwara เปรียบเสมือน “บิดา”  ผู้ให้กำเนิดวงการ streetwear นั่นเอง

James Jebbia

ถ้า พูดถึงแบรนด์ Supreme แบรนด์นี้ถือได้ว่าเป็น king of cool ในวงการ streetwear ในยุคนี้  และคนที่เราควรขอบคุณเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์นี้ขึ้นมาคือ James Jebbia แบรนด์นี้อยู่ในคลาสของมันเอง Supreme เป็นหนึ่งในชื่อแรกของ skate wear  ที่ได้ผสมผสานวัฒนธรรมหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน   ไม่ว่าจะเป็น Hip-Hop, ศิลปะ, high-fashion, Pop และอื่นๆ   ไม่เคยมีแบรนด์ไหนที่ทำให้คนแบ่งเป็นสองฝ่าย  คือแฟนๆที่ซื่อสัตย์ จงรักภักดี ได้ยกย่องสรรเสริญความเจ๋งในงานศิลปะนี้  และอีกฝ่ายคือพวกแอนตี้  ซึ่งได้วิจารณ์อย่างรุนแรงถึงแนวคิดเกินความเป็นจริง  ถึงอย่างไร  ไม่ว่าคุณจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม James Jebbia ได้คอยทำหน้าที่ดูแล  ควบคุม Supreme ให้มีพื้นฐานของการเข้าถึงกันระหว่างสตรีทกับศิลปะ  ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานที่มีร่วมกัน  แน่นอนว่าผลลัพธ์ของมันคือ การเป็นที่ยอมรับ การอยากได้อยากมีของแฟนๆ streetwear ที่ยอมเสียเงินทุ่มไม่อั้นเพื่อที่จะได้เป็นเจ้าของ  แม้ว่าบางครั้งมีการตั้งราคาสูงขึ้นถึง 2,000% ในตลาดรีเซลล์ สำหรับสินค้าของ Supreme ก็ตาม

Karl Kani

 หากจะมีใครก็ตามที่จะเป็นกุญแจไขจุดเริ่มต้นที่มีมาตั้งแต่แรกเริ่มของ urban wear ถ้ามันเป็นอย่างงั้นละก็  คงต้องยกเครดิตให้กับดีไซน์เนอร์ชื่อดัง Karl Kani   ในขณะที่คุณกำลังคิดถึงว่า  urban wear นั้นมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างออกไปจาก Streetwear, นั่นแหละ!! คุณกำลังคิดผิดอยู่แล้วหละ  จริงๆแล้ว urban wear เป็นต้นกำเนิดของแฟชั่น Hip-Hop ที่ภายหลังนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาเป็น streetwear ในทุกๆวันนี้  ในความเป็นจริงแล้วในช่วงแรกๆของปี 1990 เสื้อผ้าของ Karl Kani’s  ปรากฎขึ้นให้เห็นจากการแต่งการของเหล่าศิลปินอย่างเช่น Pac, Dr. Dre, The Notorious B.I.G และศิลปินอีกมากมายหลายๆคน  แบรนด์ urban ยังปูทางอย่างต่อเนื่องให้กับโลโก้ urban ที่ได้นำเสนอออกมาในรูปแบบงานครบรอบ 10 ปี  ประกอบไปด้วยเสื้อผ้าของแบรนด์  FUBU, Sean John, Rocawear and G-Unit  ดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นนักดนตรีที่เราชื่นชอบ กำลังจะกลายเป็นนักธุรกิจที่สร้างโลโก้ขึ้นมาเป็นของตัวพวกเขาเอง และสร้างเส้นทางหลักในด้านวัฒนธรรมแฟชั่นสำหรับกลุ่ม Hip-Hop, ในทางกลับกัน หาก Hiroshi Fujiwara รู้จักกันในนามของ “Godfather of Streetwear,” ถ้างั้นละก็ Karl Kani คงจะถือว่าเป็น “Godfather of Urban Wear.”

 

jeffstaple

ใน ช่วงต้นๆ ของปี 2000 อินเตอร์เน็ตได้เป็นสื่อให้ผู้คนมากมายได้เข้าถึงและรู้จักโลกของ sneakers แบบ limited edition ไม่ว่าจะเป็น Jordans หรือ Nike SBs รวมไปถึงเว็ปไซต์ต่างๆ เช่น HYPEBEAST ที่คอยให้ข้อมูลล่าสุด ว่าเมื่อไหร่และที่ไหน ที่จะปล่อยรุ่นต่างๆออกมา  หนึ่งในจำนวนหลายๆคนที่โดดเด่นในเวลานั้น คือ jeffstaple ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนในผลงานของเขาเช่น Nike “Pigeon” Dunks หรือ sneaker บล็อก “To Darrin Hudson” รวมไปถึงไลน์เสื้อผ้าแบรนด์ Staple หรือไม่   สิ่งหนึ่งที่สามารถเห็นได้ชัดคือ เด็กๆในเวลานั้น ฝันที่จะได้เป็นผู้สร้าง และเจ้าของกิจการ เหมือนอย่าง Jeff Staple   สิ่งที่ Staple ได้ให้แก่สังคมนั้นมีมากกว่ารองเท้า sneakers และเสื้อผ้า เขาได้ให้ความรู้ ความเข้าใจว่า สินค้าต่างๆนั้นแท้จริงแล้วถูกสร้างขึ้นมายังไง ดังนั้นถ้าคุณมองหาแรงบันดาลใจที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจด้าน streetwear ให้มองหาและศึกษาถึงงานของ jeffstaple ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ   จากการที่ streetwear ได้พยายามที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ชอบแฟชั่นชั้นสูง Staple ได้ดำเนินกิจการต่อไปภายใต้คอนเซ็ปต์ street, sneaker และ รากฐานของคนเมือง

Bobby Hundreds

เมื่อ กล่าวถึงคนสำคัญในวงการ streetwear ของลอสแองเจลิส The Hundreds ได้สร้างผลงานมากมายที่นำไปสู่ วัฒนธรรมสตรีทของแคลิฟอร์เนีย  ถ้าคุณมองย้อนกลับไปถึงการเริ่มต้นแบบเรียบง่ายของผลงานของเขา  คุณจะเห็นได้ถึงความตั้งใจของ Bobby ในการอนุรักษ์และผลักดันให้ศิลปะ West Coast, แฟชั่น และ ดนตรี ก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง  สิ่งที่ Bobby สอนกลุ่มคนที่ติดตามในตัวเขานั่นก็คือ  การร่วมมือกันเป็นสิ่งที่สำคัญแห่งการก่อเกิดแบรนด์เล็กๆขึ้นมา  มิตรภาพที่มีต่อแบรนด์อื่นๆเป็นหัวใจสำคัญของ The Hundreds ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม  และพวกเราได้เห็นการทำงานร่วมกันของคนจาก Diamond, FUCT และ Crooks & Castles, ไปจนถึง Pepsi, Disney และ Adidas    ในขณะที่ Stüssy คือกุญแจนำไปสู่วัฒนธรรม California streetwear ในยุค 80s, The Hundreds ก็คงเปรียบได้กับคนที่รับไม้ต่อจาก Stüssy และผลักดันให้วัฒนธรรมนี้ได้ก้าวไกลออกไปตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของปี 2000

Source  byHypebeast

Translate by : APPLIQUEz

Share:
On Key

Related Posts

WATCHA GONNA ดู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save