มันเป็นเรื่องที่คนโดยทั่วไปอยากให้เป็นจริง “การทำบางสิ่งด้วยความรักจะพบกับความสำเร็จ” แต่คนทั่วไปก็ต้องยอมรับว่าความรักเปล่าๆไม่สามารถช่วยให้อะไรสำเร็จได้ และคนทั่วไปก็มักไม่ได้ทำในสิ่งที่รัก แต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ในสังคมของเราเองหรือของที่ประเทศไหนก็ตาม ก็ยังมีความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่ผู้ใหญ่คิดว่าดีกับสิ่งที่เด็กคิดว่าดี หากสิ่งที่แตกต่างมากจากอดีตคือโอกาสในการพิสูจน์ของ "เด็ก" ว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นผิดหรือถูก โอกาสทางธุรกิจที่แพร่หลายมากขึ้นอย่างมหาศารด้วยอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียไม่ได้ผูกขาดไว้ให้แก่คนกลุ่มไหน เพศ หรืออายุ แรงผลักดันส่วนตัวได้ติดปีกไซเบอร์ทะยานผ่านกรอบไปมากมาย ความรักคือแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ แต่หากขาดช่องทางที่สามารถใช้เป็นตัวรวมและเก็บเกี่ยวพลังเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น มันก็จะเป็นแค่อีกตัวอย่างที่คนทั่วไปเห็นเป็นตัวอย่างที่ย้ำเตือนให้ทำใจและทำงานเพื่อความอยู่รอด Sneaker จะไม่ได้เกิดขึ้นเลยถ้าโลกเราถูกกำหนดด้วยเพียงการทำใจทำเพื่อความอยู่รอด สีสันและรสชาติของชีวิตคงจืดชืด
เราได้นำบทสัมภาษณ์คนๆนึงที่เป็นตัวอย่างว่า หากคุณรักบางสิ่งและใช้ความพยายามใฝ่หาช่องทางไขว่คว้าสิ่งนั้น คุณก็ประสบความสำเร็จได้แม้จะเป็นแค่ ’เด็ก’ Benjamin Kickz เด็กหนุ่มเจ้าพ่อ Sneaker หนุ่มวัย 16 ปี ที่ลงลึกกับการซื้อขาย Sneaker คนนี้ รักษาสมดุลเรื่องเรียนในขณะเดียวกันก็คอยสรรหารองเท้ารุ่นที่เป็นที่ใฝ่หาให้เหล่าเซเลปคนโปรดของคุณ
Benjamin Kapelushnik ที่เป็นที่รู้จักกันโดยกว้างขวางในอินเตอร์เน็ตด้วยนามว่า Benjamin Kickz เด็กมัธยมปลายจาก Miami ที่ถ่ายรูปกับรองเท้ารุ่นที่เป็นที่ต้องการเป็นกองพะเนิน มีอายุเพียง 16 ปี เขาเป็นหนึ่งในคนที่คอยหารองเท้าเจ๋งๆให้กับสนีกเกอร์เฮดตัวยงอย่าง DJ Khaled ด้วย เบนจามินได้สร้างชื่อเสียงในโลกออนไลน์มามากพอสมควรในฐานะพ่อค้า อวด sneaker เป็นกองๆอย่าง Adidas Yeezy Boost และยังกระทบไหล่กะเหล่าเซเลปแนวหน้า ซึ่งโดยรวมอายุมากกว่าเขาหลายปี เหมือนเด็กหลายๆคนที่อายุเท่ากัน ความรักที่มีต่อ sneaker ของเบนจามินเริ่มแต่เยาว์ “ผมกลับบ้านมาวันนึงตอนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 5 และแม่ผมไปห้างมาแล้วซื้อ ‘Galaxy’ LeBrons กับ Kobes มา ผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ sneaker” เบนจามินกล่าว “ผมใส่มันไปโรงเรียนแล้วทุกคนก็คลั่งกันใหญ่ จากนั้นผมเริ่มค่อยๆ ชอบ sneaker มากขึ้นๆ”
มันจะเป็นเวลาอีกสองสามปีก่อนที่เขาจะเข้าวงการซื้อขาย sneaker ซึ่งในปัจจุบันได้ทำให้เขาเป็นที่รู้จัก และมันก็เริ่มจากแค่คู่เดียว “ผมออกแคมป์ครั้งแรกตอนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผมคิดว่าตอนนั้นเพื่อเอา Cheech & Chong Nike SB Dunks นะ” เบนจามินว่า “ผมเริ่มสร้างคลังสะสมรองเท้าแล้วก็มีคนมาลองพยายามซื้อต่อจากผม ผมไม่อยากขายเพราะผมไม่ได้มาอินกับ sneaker เพื่อทำธุรกิจ จากนั้นผมไปออกตั้งแคมป์แล้วซื้อมา 2 คู่และขายไปคู่ 1 เพราะผมได้เงินมาจากวันเกิดและฮานุคการ์(วันสำคัญศาสนายิว) แต่มันเริ่มหมด ผมคิดกับตัวเองว่า ‘ถ้าผมอยากซื้อ sneaker ต่อไปเรื่อยๆ ผมจะหาวิธีหาเงินมา’”
ไม่นานการลงทุนซื้อขายของเบนจามินก็ขยายตัว และเขาก็ได้รับรู้ถึงความเป็นไปได้ของได้ sneaker มาโดยไม่เสียเงิน “ผมคิดว่า ‘อย่างนี้ฉลาดดี ผมสามารถซื้อ sneaker 2 หรือ 3 คู่แล้วเก็บไว้ได้คู่นึงฟรีๆ โดยขายที่เหลือ’” เบนจามินบอก “ผมไม่ได้เข้ามาเพื่อหากำไร ผมเข้าวงการเพื่อตัวรองเท้า ผมไม่มีงานทำและผมก็ต้องหาเงินมาให้ได้สักทาง”
ในการไปเอา sneaker มาขายต่อ เบนจามินรู้ว่าเขาต้องมีเงินเหลือๆ เพื่อสร้างคลังสินค้ารองเท้า “ผมเริ่มเก็บเงินจากการขายทีละคู่ ผมเคยจ่ายเงินเพื่อนๆ $40 – $50 ให้ไปตั้งแคมป์แทนผม แล้วนั้นเพื่อแค่รองเท้าคู่เดียว” เบนจามินเล่า “จากนั้นผมก็ได้เงินมากขึ้นจากเดิมเยอะ ผมรู้ว่าไปแคมป์รอเอา 10 คู่ก็ไม่ทำให้ผมไปได้ไกล ผมเลยลงเงินหมดตัวกับรองเท้ารุ่นนึงที่ปล่อยมาแล้วมันก็เป้นที่ต้องการของตลาด ผมได้เงินมาเกือบเท่าตัวจากครั้งนั้น ผมทำต่อเรื่อยๆ ก็แค่นั้น”
เงินของเบนจามินก็เริ่มงอกงามอย่างมาก แต่เขายังต้องการช่องทางที่สามารถเอา sneaker ที่ยังไม่ได้ปล่อยสู่ตลาดมาได้ทีละเป็นลังๆ สิ่งๆนี้จะมาในรูปของเพื่อนที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับรองเท้าแต่รู้จักคนถูกคน “ผมเริ่มหาช่องทาง แล้วมันก็บังเอิญเป็นเพื่อนผม เขาก็ไม่ได้สนใจอะไรกับ sneaker เขามีเพื่อนที่เจ้าของร้านที่มีสัญญากับ Nike กับ Adidas” เบนจามินเล่า แล้วก็บอกมาอีกว่าได้เจออีกร้านที่อยู่ต่างรัฐที่ปล่อยของให้เขา “ผมจ่ายพวกเขาเพิ่มต่างหาก เราต้องสร้างความเชื่อใจกัน ผมต้องบินไปหาพวกเขาที่รัฐนั้นและเริ่มสร้างความรู้จักกับพวกเขา จากนั้นพวกเขาเชื่อใจผมในฐานะคนรู้จักกันเป็นส่วนตัวพอที่พวกเขาจะเอารองเท้าที่จะออกมาให้ผมได้หมด มันยากนะที่จะเชื่อใจคนๆนึงพอที่จะส่งรองเท้าก่อนที่มันจะออกไปให้ เพราะมันทำให้ทางร้านมีปัญหากับ Nike หรือกับใครก็ตาม”
เบนจามินอ้างว่าบ่อยมากที่เขาส่งเงินไปยังร้านเหล่านี้ทีเป็นพันๆดอลล่าเพื่อจะได้ sneaker ก่อนเวลา และเขาพยายามทำกำไรอย่างน้อย 35 ถึง 40 เปอร์เซ็นต่อรุ่นที่ออกมา สำหรับรองเท้าที่เขาสามารถขายได้กำไรมากกว่าทีหลัง เขาจะเก็บ sneakers เหล่านั้นจนพวกมันถึงราคาที่สูงกว่า เบนจามินบอกว่าเขาได้รับมอบหมายส่ง sneaker อยู่ 800 คู่ ในฟลอริด้า และหวังว่าจะเปิดร้านรับซื้อขายของเขาเองในปีหน้า
ผู้ปกครองของเขาแรกๆ คิดว่าเขาเสียสติแล้วที่คิดพยายามซื้อ sneaker มาขายต่อ พวกเขาไม่คิดว่าจะมีใครจ่ายเงินมากมายสำหรับ sneaker คู่นึงที่ไม่ได้ทำออกมาโดยนักออกแบบแฟชั่นแนวหน้า “ผมไปเอา ’Miro’ Air Jordan VIIs มา และจ่ายไป $700 แล้วพ่อผมมาพูดว่า ‘ลูกบ้าไปแล้ว มีแต่ลูกแหละที่จ่ายแพงขนาดนี้เพื่อรองเท้า’ เบนจามินเล่า “ผมขายมันไปสองสามเดือนจากนั้นได้ $1,000 แล้วพ่อก็คิดว่ามันโคตรเจ๋งไปเลย”
แต่พูดกันได้เลยว่าเบนจามินคงไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่เป็นถ้าไม่ได้เจอกับลูกค้าที่ซื่อสัตย์ที่สุดของเขา ดีเจ Khaled แห่งไมอามี่ ทั้งหมดเริ่มต้นจากตอนที่มีเพื่อนเขาคนนึงมาบอกเขาเรื่องว่ามีคนต้องการแพ็ค ”Pantone” Air Jordan XI สามชุด
“ผมถามเขาว่าต้องการขนาดไซส์เท่าไหร่ และก็ถามว่า ‘สำหรับใคร?’ เขาบอก "ดีเจ Khaled" เบนจามินเล่า “ตอนแรกผมคิดว่ามันเจ๋ง แล้วจากนั้นผมก็จัด sneaker ไป และผมก็ได้เจอกับเขา หลังจากนั้นผมจัดหาทุกรุ่นที่ออกแล้วก็เอาไปขายเขาทันที เขาซื้อทุกรุ่นแล้วก็มากกว่าหนึ่งคู่ด้วย”
“ก่อนที่ผมจะบินออกมาเมื่อวาน เราไปคอนเสิร์ตมาด้วยกัน” เบนจามินกล่าวเกี่ยวกับความสนิทสนมกับ Khaled ผู้ได้ชวนเขาขึ้นเวทีตอนแสดงสดและยังเห็นได้เป็นประจำอยู่ในอินสตาร์แกรมของเขา “ผมไปคอนเสิร์ตทุกงานกับเขาและเขาก็ช่วยเชื่อมผมกับพวกเซเลปทั้งหลาย ผมเจอคนผ่านเขาเยอะมาก เขาช่วยผมไว้เยอะ”
สิ่งนี้เปิดประตูสำหรับเบนจามินให้สามารถได้กลุ่มลูกค้าเซเลปที่นอกเหนือไปจาก Khaled บ่อยครั้งขาย sneaker ให้แรปเปอร์ เขาชอบทำงานกับแรปเปอร์มากกว่าพวกนักกีฬา และเหตุก็ไม่ใช่เพราะเงิน “ผมชอบทำงานกับแรปเปอร์มากกว่า เพราะผมรักฮิปฮอปกับอุตสาหกรรมดนตรี มันทำให้ผมพอใจได้มากกว่า อย่าเข้าใจผมผิดนะ ผมชอบขายให้นักกีฬาด้วย แต่ผมคุยรู้เรื่องกว่ากับพวกดาราฮิปฮอป”
ไม่ว่าด้วยความสนอกสนใจ ทั้งจากในชีวิตจริงและในอินเตอร์เน็ต – IG ของเขามีคนตามอยู่เกิน 36,000 คน -เบนจามินก็ยังเป็นเด็กม.ปลาย ที่ต้องจัดการกับความเป็นจริงในแต่ละวันของการเป็นวัยรุ่นและนักเรียน การหาสมดุลระหว่างโลกทั้งสองได้ทำให้พวกครูของเขาเป็นห่วง แม้ว่าแบบธุรกิจของเขาจะหาเงินมาได้เท่ากับรายได้ต่อปีที่ล่ำสันของผู้ใหญ่ “อาทิตย์ที่แล้ว พวกครูผมบอกผู้ปกครองผมว่าผมไม่ควรพกโทรศัพท์ไปโรงเรียนเพราะมันทำให้รบกวนมาก ผมเลยซื้อโทรศัพท์อีกเครื่อง ซึ่งมีเพื่อนกับพ่อแม่อยู่ไว้เอาไปโรงเรียน และก็ผมมีโทรศัพท์สำหรับ sneaker เซเลปกับธุรกิจ พอตอนออกจากโรงเรียนผมก็ใช้อีกเครื่อง เหมือนผมสับรางไปมา”
การมีชีวิตที่ต่างกันมากสองทางนั้นอาจตรึงเครียดได้สำหรับเบนจามิน เขาทำเงินได้เกือบล้านดอลล่าแล้วจากการซื้อขาย sneaker “ผมชอบทำ sneaker แต่บางทีผมต้องหยุดพักแล้วชิลมั้ง” เขากล่าว
เขาได้เปลี่ยนตัวเองเป็นเจ้าพ่อธุรกิจในวัยที่ยังเยาว์ แต่เขาก็ยังวางแผนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยและเรียนเอา MBA และหวังที่จะได้เปิดร้านค้าปลีกเป็นสาขาในอนาคต เบนจามินไม่เห็นตัวเองขาย sneaker ผ่าน IG ไปตลอด “ผมจะไม่เป็นคนอายุ 26, 27 ขาย sneaker บน IG ผมทำสิ่งนี้เป็นแบบ ‘ เด็กๆทำ’ แ ค่ตอนนี้ ต่อไปมันจะต้องระดับกว้างขึ้นอีกเยอะ” เบนจามินกล่าว
แม้จะรู้ลึกธุรกิจอย่างเขา มันชัดเจนมากว่าสิ่งสำคัญสุดสำหรับเบนจามินคือความรัก sneaker ของเขา คลังสะสมส่วนตัวของเขาซึ่งมีเพียง 25 ถึง 30 คู่เต็มไปด้วย ”ตัวร้อนแรง” ตามที่เขาบอก มีรองเท้าอย่าง Nike Mag, Air Jordan จากชุดสะสม Doernbecher และ BIN รวมถึงรุ่นสุด limited อย่าง ”Yellow Lobster” Dunk ที่เป็นงานร่วมระหว่าง Concepts กับ Nike SB และก่อนจบบทสัมภาษณ์ เบนจามินได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “ผมทำทั้งหมดเพื่อเก็บรองเท้าที่ผมชอบไว้ ไม่ใช่เพื่อเงิน”
Credit : Complex
Author : PonPawn