[SIVS]10 Months with Levi’s® Made & Crafted Part.7

 

10 Months with Levi's®  Made & Crafted Part.7

 

กางเกงยีนส์นั้นเมื่อเราทำการสวมใส่เรื่อยๆเป็นระยะเวลานานๆมักจะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เกิดขึ้นนั่นคือการเกิดรอยฉีกขาดขึ้นบนตัวกางเกง หลายๆคนมักจะมีคำถามว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี จะซ่อมแซม หรือปล่อยต่อไป ดังนั้น 10 Months with Levi's®  Made & Crafted ในตอนที่ 7 นี้ ผมจะมาแนะนำแนวทางต่างๆเมื่อเกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นครับ

 

 

โดยปรกติแล้วกางเกงยีนส์นั้นถือว่าเป็นเสื้อผ้าที่มีความทนทานมากๆ เนื่องจากแรกเริ่มนั้นถูกออกแบบสำหรับกลุ่มชนชั้นแรงงานใส่เพื่อทำงานหนักๆ เช่น งานเหมืองแร่ แต่ถึงจะมีความทนทานขนาดไหนก็ตามก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดการฉีกขาดได้ ซึ่งหลักๆนั้นจะสามารถแบ่งสาเหตุของการฉีกขาดได้เป็นหัวข้อใหญ่ๆตามนี้ครับ

1.การฉีกขาดจากการเสียดสีกันเองของเนื้อผ้า ส่วนนี้จะเกิดขึ้นบริเวณเป้ากางเกงบริเวณต้นขาด้านใน และอีกตำแหน่งก็จะเป็นที่หลังหัวเข่า(Honeycomb) บริเวณเป้ากางเกงนั้นส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่ใส่กางเกงทรง Slim ,Skinny ที่รัดมากๆ อาจจะเนื่องจากการเลือกไซส์กางเกง หรือการที่มีต้นขาที่ค่อนข้างใหญ่ก็ตาม ลักษณะการเกิดคือผ้าบริเวณนี้จะถูกเสียดสีจนบางลงเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะขาดเป็นรู วิธีการแก้ไขตรงจุดนี้ไม่มีอะไรมากครับ ใช้การปะธรรมดาเลย เพราะเป็นจุดที่สังเกตเห็นได้ยากอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามบริเวณนี้เมื่อเกิดการขาดแล้ว แสดงว่าผ้าโดยรวมเปื่อยและบาง ดังนั้นเมื่อใส่ต่อไปเรื่อยๆก็มีโอกาสที่จะขาดซ้ำบริเวณข้างเคียงครับ

 

ลักษณะรอยขาดที่เกิดจากการเปื่อยของผ้า

 

รอยขาดบริเวณเป้ากางเกงเมื่อทำการซ่อมแล้ว

ส่วนบริเวณหลังเข่านั้น ถ้าขาดมักจะเริ่มเป็นขุยๆผ้าขึ้นมาก่อน โดยในท้ายที่สุดอาจจะพัฒนาไปจนกลายเป็นรอยขาด หรืออาจจะไม่เป็นก็ได้ แต่โดยมากแล้วบริเวณนี้ขาดค่อนข้างยากครับ

 

รอยขาดบริเวณหลังเข่าและการซ่อมแซม

 

2.การฉีกขาดจากการเสียดสีระหว่างผ้า และสิ่งต่างๆรอบตัว กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่ง แต่มักจะเกิดมากกับบริเวณที่ต้องสัมผัสกับสิ่งต่างๆเป็นประจำ เช่น หัวเข่า บั้นท้าย(กระเป๋าหลัง) รวมไปถึงปลายขากางเกง ทั้งนี้การฉีกขาดตามตำแหน่งเหล่านี้ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน เนื่องจากแต่ละคนมีลักษณะการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น รอยขาดที่หัวเข่านั้นมักจะเกิดขึ้นกับคนที่ต้องมีการคุกเข่าทำงานกับพื้นบ่อยๆ ก็จะทำให้ผ้าบริเวณนี้เปื่อยจนขาดได้ หรือบริเวณกระเป๋าด้านหลังนั้นถ้าใครที่ใช้ชีวิต outdoor หน่อย คือต้องนั่งบนพื้นบ้าง หรือพื้นๆที่มีความขรุขระบ้างก็จะทำให้ส่วนนี้ขาดได้เช่นกัน

 

การซ่อมแซมนั้นถ้ารอยขาดยังไม่ใหญ่ อาจจะใข้การชุนแทนที่จะปะก็ได้ในกรณีที่ไม่อยากจะให้เห็นร่องรอยการซ่อมแซมเด่นชัดนัก แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ขาดเป็นรูใหญ่ วิธีการซ่อมที่ดีที่สุดก็คือการปะครับ

 

การซ่อมแซมรอยขาดบริเวณหัวเข่า

 

ในส่วนของปลายขากางเกงนั้นจะเกิดการขากเนื่องมาจากการใส่กางเกงที่ยาวจนแตะพื้นทำให้กางเกงเกิดการเสียดสีกับพื้น รอยขาดนั้นมักจะเป็นรอยรุ่ยๆ ซึ่งถ้าไม่ได้ขาดจนเป็นวงใหญ่ก็ถือว่าเป็นสเหน่ห์อย่างหนึ่งของกางเกงยีนส์ มักจะไม่ได้ทำการซ่อมแซมกัน

 

รอยขาดบริเวณปลายขากางเกง

 

3.การฉีกขาดจากการเสียดสีระหว่างตัวกางเกงกับสิ่งของต่างๆที่พกพา รอยขาดชนิดนี้นั้นจะค่อนข้างเฉพาะตัว เพราะจะเกิดจากการที่กางเกงของเราเสียดสีกับสิ่งต่างๆที่เราใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ หรือพวงกุญแจ ซึ่งเกิดได้ทั้งบริเวณกระเป๋าด้านหลัง หรือบริเวณต้นขาด้านหน้า(ตำแหน่งเดียวกับกระเป๋าหน้า)

 

รอยขาดบริเวณกระเป๋าใส่เหรียญ และต้นขาด้านหน้า

 

รอยขาดบริเวณกระเป๋าหลัง

รอยขาดในลักษณะนี้ถ้าไม่ขาดเยอะจนเกินไปก็ถือว่าเป็นร่องรอยที่ทำให้ตัวกางเกงดูน่าสนใจได้เหมือนกัน แต่ถ้าใครที่อยากจะซ่อมแซมอาจจะเพื่อการใช้งาน(กระเป๋าหลังบางทีถ้าขาดตรงมุมล่างอาจจะไม่เหมาะใส่ของ) หรือเพื่อความสวยงาม ก็อาจจะใช้ผ้ารองด้านใน หรือด้านนอกแล้วเย็บก็ได้เช่นกัน

หลายๆคนเกิดความกังวลเมื่อเวลากางเกงยีนส์ตัวเก่งเกิดรอยขาด กลัวว่าเมื่อทำการซ่อมแซมมาแล้วจะเหลือร่องรอยที่แปลกแยกออกไปไม่ว่าจะเป็นผ้าที่นำมาใช้ปะกางเกง หรือรอยเย็บที่จะเกิดขึ้น อยากจะบอกว่าอย่าไปกังวลตรงจุดนี้มากเกินไปนัก เพราะในทางกลับกันทุกร่องรอยบนตัวกางเกงนั้นกลับเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กางเกงของเรามีความเป็นเอกลักษณ์ รวมไปถึงว่าการซ่อมแซมกางเกงยีนส์ด้วยวิธีต่างๆนั้น กลับเป็นการตกแต่งกางเกงยีนส์ให้มี8ความน่าสนใจมากขึ้น Vintage ไปเสียอีก โดยบางแบรนด์นั้นก็ได้ออกกางเกงที่มีการปะผ้าในหลายๆตำแหน่งออกวางขายเสียด้วยซ้ำ เช่น LVC

 

กางเกงยีนส์ LVC ที่เลือกใช้วัสดุหลากหลายมาทำการปะลงไปบนตัวกางเกง

 

กางเกงแนวนี้เหมาะกับผู้ที่ชอบลุคแนว Vintage มากๆ

 

หลักการซ่อมแซมกางเกงยีนสส์ให้ได้อย่างในรูปนั้นก็ให้เราลองเลือกผ้าที่จะนำมาใช้ปะให้หลากหลาย บางตำแหน่งอาจจะใช้ผ้าเดนิมดิบสีเข้ม บางจุดใช้สีฟอกอ่อนๆ บางจุดใช้เป็นผ้าพิมพ์ลาย หรือแม้แต่วัสดุอื่นๆเช่นหนังก็ได้ ในขณะที่รอยเย็บก็สามารถเลือกได้ว่าจะให้ฝีเข็มเป็นแบบไหน ด้ายใหญ่เล็กสีอะไร ก็ฝากไว้สำหรับใครที่กำลังมีโอกาสจะได้ซ่อมยีนส์เร็วๆนี้ ลองออกแบบกันดูนะครับ กางเกงยีนส์แนวนี้ถ้าทำออกมาสวยๆนี่ชิ้นเดียวอยู่เลย แต่งกับเสื้อผ้าเรียบๆชิ้นอื่นก็เท่แล้ว

 

ทีนี้ขอทิ้งท้ายกันที่กางเกง  Levi's®  Made & Crafted “Tack Slim” ของผมกันบ้างดีกว่า มาถึงตอนนี้ก็นับวันใส่จริงๆก็เกือบ 6 เดือนแล้ว ก็เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากครับ แต่ก็ตัดสินใจแช่น้ำเปล่าแล้วเนื่องจากเรื่องของความสะอาดด้วย ยังไงก็ตาม เดือนหน้าจะมาอัพเดตความเปลี่ยนแปลงหลังแช่นะครับ

 

 

 

 

Share:
On Key

Related Posts

WATCHA GONNA ดู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save