Brewed Denim #6:Button Up The Denim Jacket

 

Brewed Denim #6:Button Up The Denim Jacket

 

 

Brewed Denim ตอนที่ 6 คราวนี้กลับมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวพอดี เลยนึกได้ว่ามีไอเทมอีกชิ้นนึงที่เหล่าคนรักเดนิมทั้งหลายมักจะต้องมีติดตู้เสื้อผ้ากันไว้ และก็เหมาะสวมใส่ในช่วงที่อากาศเย็นๆด้วย แม้ว่าประเทศไทยอาจจะมีช่วงเวลาเหล่านั้นสั้นเหลือเกินก็ตามที ไอเทมที่ผมจะนำมาพูดถึงในวันนี้ก็ คือ Denim Jacket หรือ เสื้อแจคเก๊ตยีนส์นั่นเอง

 

เมื่อพูดถึง Denim Jacket แล้วแต่ละคนก็อาจจะมีภาพในหัวที่ต่างๆกันไป ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะว่าถ้าจะนับกันจริงๆแล้ว Denim Jacket นั้นจะแบ่งเป็น 3 ชนิดหลักๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะยึดรูปแบบ Denim Jacket ของ Levi’s เป็นเกณฑ์ดังนี้

 

1.Type I Jacket

 

 

Type I Jacket นั้นนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นการทำ Denim Jacket ของ Levi’s เลย โดยมีการทำออกมาครั้งแรกตั้งแต่ช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 ประมาณช่วงปี 1930 ตัว Jacket นั้นเป็นจะมีกระเป๋าเพียงแค่ที่เดียวบริเวณหน้าอกด้านซ้าย และมีตัวปรับขนาดเอวเสื้อให้กระชับเป็นสายอยู่ที่เอวด้านหลัง

 

 

ถือว่าเป็น Denim Jacket ที่มีรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายที่สุด โดยเนื่องจากความเรียบง่ายของ Jacket Type นี้ ทำให้สามารถผสมผสานกับการแต่งตัวได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Vintage Workwear หรือ Casual Styleสบายๆก็ได้ทั้งนั้น

 

Denim Jacket Type I Fit Pics

หลายๆแบรนด์ที่ทำงานร่วมกับ Levi’s ก็เลือกทรงนี้มาใช้ในโปรเจ็คด้วย  แม้ว่าจะไม่ได้ทำออกมาเป็น Denim Jacket แต่เลือกใช้วัสดุอื่นๆก็ตาม เช่น แบรนด์ Street ชื่อดังจาก New York อย่าง Supreme ที่เลือกใช้ผ้า Cotton Twill มาใส่ใน Jacket Type นี้

 

Supreme x Levi’s Type 1 Jacket

 

ถือได้ว่า Levi’s Denim Jacket Type I นั้นเป็น ต้นแบบ Denim Jacket จริงๆ

 

LVC Deim Jacket Type I ที่ผ่านการสวมใส่จนมีร่องรอยความเก่าแล้ว

 

2.Type II Jacket

 

 

สำหรับ Jacket ชนิดนี้มีการผลิตออกมาครั้งแรกในช่วงปี 1953 โดย Denim Jacket Type II นั้นจะเป็น  Jacket ที่หลายๆคนมักจะสับสนกับตัว Type I เนื่องจากมีหน้าตาที่คล้ายกันมาก แตกต่างกันตรงที่กระเป๋าหน้านั้นจะมีทั้งสองฝั่งทั้งอกซ้ายและขวา ส่วนตัวปรับความกระชับที่เอวก็เปลี่ยนจากสายตรงกลางเอวด้านหลัง มาเป็นกระดุมบริเวณด้านข้างของเอวทั้งสองฝั่งแทน

 

Denim Jacket Type II Fit Pics

 

หลายๆแบรนด์ที่เป็นแบรนด์ สไตล์ Vintage นิยมนำ แจคเกต Type II นี้มาปรับเปลี่ยนรายละเอียดเล็กน้อย เพื่อให้กลายเป็น ทรงของแบรนด์ตัวเอง เช่น แบรนด์ยีนส์ญี่ปุ่นอย่าง Momotaro  หรือ RRL ที่ออกแบบให้ตำแหน่งกระเป๋าต่ำลงมาจากแบบดั้งเดิม

 

RRL Type II Jacket
 

 

3.Type III Jacket

 

 

สำหรับ Type III นี้ถือว่าน่าจะเป็น รูปแบบที่คนจดจำได้เยอะที่สุด อาจจะเพราะด้วยความที่ออกมาหลังที่สุด และมีดีเทเทลเส้นสายต่างๆที่ดูออกแนวแฟชั่นกว่าสองแบบก่อนหน้า ทำให้นักร้อง นักดนตรีต่างๆนิยมใส่เสื้อ Type นี้มากเป็นพิเศษ รวมไปถึงแบรนด์ต่างๆ ทั้งแบรนด์ยีนส์ หรือแม้แต่แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นก็มักจะมี Jacket Type นี้รวมอยู่ในคอลเล็คชันด้วยเสมอๆ ทาง Levi’s ทำออกมาครั้งแรกช่วงประมาณปี 1960 โดยมีอีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันก็คือ Trucker Jacket

 

 

ตัวเสื้อนั้นนอกจากจะมีรูปทรงกระเป๋าที่ดูเพรียว และออกแนว Western กว่า สองแบบแรกแล้ว ก็ยังจะมีการเดินตะเข็บตั้งแต่ใต้กระเป๋าลงมาถึงขอบเอว(สำหรับเส้นตะเข็บตรงนี้ และรูปร่างของกระเป๋านั้น แต่ละแบรนด์ก็พยายามจะดีไซน์ให้แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง) โดยกระเป๋านั้นส่วนมากจะมีกระเป๋าข้างอีกด้วย นอกเหนือไปจากกระเป๋าบริเวณหน้าอก

อย่างที่กล่าวไว้ว่าสำหรับเสื้อแบบ Type III นั้นนอกจากจะให้ภาพลักษณ์ความเป็น  Denim Jacket ที่คลาสสิคแล้ว ก็ยังดูทันสมัยอยู่ด้วย ดังนั้นเราจึงมักจะเห็นการแต่งตัวที่หลากหลายกับเสื้อ Denim Jacket Type III นี้
 

 

Denim Jacket Type III กับการแต่งตัวสไตล์ Formal

 

Kanye West กับ Denim Jacket Type III

 

สำหรับ Denim Jacket นั้นก็เริ่มต้นมาจากผ้าดิบ เช่นเดียวกับกางเกงยีนส์  จุดมุ่งหมายแต่แรกเริ่มนั้นก็เพื่อเป็นเสื้อผ้าที่มีความทนทาน และสามารถใส่ทำงานที่สมบุกสมบันได้เช่นเดียวกับกางเกงยีนส์ ในกรณีที่เรานำ Denim Jacket ที่ทำมาจากผ้าดิบมาสวมใส่เป็นระยะเวลานานๆ ก็จะสามารถเกิดการเฟดได้เช่นเดียวกับกางเกงยีนส์ 

แม้ว่าอาจจะเฟดยาก และช้ากว่ากางเกงยีนส์ซักเล็กน้อยเนื่องจากตัวเสื้อนั้นจะไม่ได้รับการเสียดสีมากเท่าเวลาที่เราใส่กางเกง โดยรอยเฟดที่เกิดขึ้นก็จะเกิดบริเวณข้อพับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมือ ข้อศอกทั้งด้านในและด้านนอก ซึ่งตรงนี้นั้นจะเกิดขึ้นแน่ๆ เนื่องจากเป็นจุดที่ร่างกายต้องมีการขยับตัวตามปรกติ ในขณะที่บริเวณอื่นๆ เช่น ลำตัว หรือหลังนั้นจะขึ้นกับกิจกรรมต่างๆที่เราทำว่ามีการเสียดสีกับตัวเสื้อบ้างหรือไม่

 

ลักษณะการเฟดของ Denim Jacket

 


รอยเฟดบริเวณข้อมือ และข้อพับ

 

รอยเฟดบริเวณข้อศอก

 

ในประเทศไทยนั้น ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ร้อน และมีความชื้นสูงทำให้ไม่ค่อยมีคนไทยนิยมใส่ Denim Jacket เท่าไรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสวมใส่ติดๆกันเป็นระยะเวลานานหลายๆเดือน เพื่อให้เกิดการเฟด  ซึ่งจริงๆแล้วใครที่อยากได้ Denim  Jacket ที่ดูเก่ามาแล้วโดยไม่ต้องนำมาสวมใส่เองก็สามารถที่จะเลือกซื้อ Jacket ที่ผ่านการฟอกมาแล้วได้เช่นกัน

 

Visvim Damage 101 Jacket

 

จุดประสงค์ของเสื้อ Denim Jacket นั้นอย่างที่ได้กล่าวไว้ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อใส่กันลม กันแดด รวมไปถึงใส่ทำงานที่สมบุกสมบัน  โดยด้วยเนื้อผ้าที่หนานั้นจะป้องกันร่างกายจากการถูกขีดข่วน ได้ แต่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกันหนาว ดังนั้นบางรุ่นจึงมีการเสริมผ้าเข้าไปด้านในเพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่น

 

Levi’s x Pendleton ที่มีการใช้ผ้าจาก Pendletonมาบุภายในตัวเสื้อ

 

อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบัน Denim Jacket กลายเป็นมากกว่าเสื้อที่ใส่เพื่อทำงาน แต่กลายเป็นไอเท็มแฟชั่นชิ้นหนึ่ง เราจึงมักจะเห็นแบรนด์ต่างๆ เลือกนำวัสดุอื่นๆมาผสมเข้ากับ Denim หรือแม้แต่เปลี่ยนไปใช้วัสดุอื่นไปเลยก็มี

 

Junya Watanabe x Levi’s ที่มีการใช้ผ้า Wool เข้ามาแทนที่ Denim

 

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวที่มาของ Denim Jacket ชนิดต่างๆ น่าจะพอทราบถึงรายละเอียดต่างๆกันบ้างแล้ว ก็ขอแนะนำว่า Denim Jacket นั้นเป็นไอเท็มที่คนรัก Denim ควรจะมีติดตัวไว้จริงๆ ขอให้ลองเลือกหารูปแบบที่เหมาะสมกับสไตล์ของตัวเองดูนะครับ รับรองว่าจะสนุกกับการแต่งตัวมากขึ้น

 

 

สำหรับ Brewed Denim  ในเดือนหน้า ผมจะเอาเรื่องราวเกี่ยวกับ Denim มาฝากสาวๆโดยเฉพาะเลย รอติดตามกันได้ครับ 🙂

 

Credit : superfuture.com ,rawrdenim.com , lividjeans.com

 

 

 

Share:
On Key

Related Posts

WATCHA GONNA ดู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save